:::: MENU ::::
  • 21:48
เทคโนโลยีชีวภาพกับประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
(พืชตัดต่อยีนกับประโยชน์เหลือคณานับ)

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตัดต่อยีน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอายีนที่มีประโยชน์เข้าสู่ต้นพืข การเกษตรสมัยใหม่ต้องการทั้งคุณภาพและปริมาณของผลผลิต ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีตัดต่อยีนจึงมีความสำคัญยิ่ง ผลผลิตชนิด       แรกที่ได้รับการตัดต่อยีนคือ มะเขือเทศ ผิวของมะเขือเทศมีสุกนั้นจะอ่อนตัวทำให้มะเขือเทศเน่าเสียง่าย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก   เพกทิน (pectin) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยให้ผิวมะเขือเทศมีความแข็งแรง ถูกทำลายด้วยเอนไซม์ที่มีชื่อว่า  พอลิกาแล็กทูโรเนส (polygalacturonase)” ในปัจจุบันด้วย วิธีแอนติเซนส์ (antisense method – การเติมสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่งที่เข้าคู่กันได้กับสายอาร์เอ็นเอของยีนที่สนใจ ทำให้อาร์เอ็นเอไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์โปรตีนได้ จึงไม่มีการสร้างโปรตีนหรือเอนไซม์นั้นๆ เกิดขึ้น – ผู้แปล)  ช่วยยับยั้งการสร้างเอนไซม์ชนิดนี้ในเซลล์ ผลลัพธ์คือ ได้มะเขือเทศที่แม้ว่าจะสุกแล้วแต่ผิวก็ไม่อ่อนตัว ยังแลดูสวยงามและแข็งแรง

Pectin

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ การใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดที่มีชื่อว่า ไกลโฟเสต (Glyphosate)” ในการเกษตร มักถูกทำลายด้วยเอนไซม์บางชนิดจากแบคทีเรียในดิน เมื่อนำยีนที่สร้างเอนไซม์ดังกล่าวมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม แล้วย้ายเข้าสู่ต้นพืช ต้นพืชก็จะทนต่อไกลโฟเสตได้ และเมื่อใช้ไกลโฟเสตในแปลงเพาะปลูก พืชของเราที่มียีนที่สร้างเอนไซม์นี้อยู่จะทนต่อไกลโฟเสต จึงมีแต่เฉพาะต้นหญ้าและวัชพืชเท่านั้นที่จะเหี่ยวตายไป ทำให้สามารถกำจัดวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พืชที่มีการตัดต่อยีนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง เรปซีด (rape-seed) และข้าวโพด ก็ล้วนแต่บริโภคแล้วไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ ต่อร่างกายมนุษย์

ในอีกด้านหนึ่ง ผลผลิตจากการตัดต่อยีนที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้รับความสนใจมาก คาดกันว่าทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีมากกว่า 300 ล้านคน จึงมีแนวคิดที่จะผลิตวัคซีนต้านโรคดังกล่าวในหัวแครอท เมื่อรับประทานหัว แครอทแล้วก็จะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ยังมีข้าวที่ได้รับยีนที่สร้างเฟอร์ริทิน (ferritin) เฟอร์ริทินเป็นโปรตีนที่ช่วยเก็บรักษาธาตุเหล็กในเซลล์ ด้วยวิธีนี้จะช่วยรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางที่มีอาการจากการขาดธาตุเหล็กได้ หรือว่าจะเป็นมะเขือเทศที่มีไลโคปีนในปริมาณมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าไลโคปีนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีการตัดต่อยีนเพื่อใช้เป็นยาสำหรับการป้องกันและบำบัดรักษาโรคต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยใช้ความรู้ด้านยีนและดีเอ็นเอ เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อผิวหนังของเราได้รับรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากแสงอาทิตย์ ผิวหนังจะมีการสร้างเมลานินมากขึ้น โดยสร้างจากกรดอะมิโนชนิด  “ไทโรซีน ปฏิกิริยาเร่งด้วยเอนไซม์ ไทโรซิเนส (tyrosinase)” ดังนั้นด้วยการใช้วิธีแอนติเซนส์ทำให้สามาถยับยั้งการทำงานของไทโรซิเนส และลดการสังเคราะห์เมลานินให้น้อยลงได้ ผิวจึงคล้ำได้ยากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นเครื่องสำอางเพื่อความงามระดับสุดยอด
A call-to-action text Contact us