:::: MENU ::::
  • 12:35
ถ้าจะทำกินเองควรทำแบบนี้ครับ

การเพาะถั่วงอกวิธีง่ายๆ
1. คัดเมล็ดถั่วเขียวที่เสียออกให้หมด แล้วล้างน้ำเปล่าให้สะอาด
2. นำเมล็ดถั่วเขียวที่ล้างแช่ในน้ำอุ่น (น้ำร้อน 1 ส่วน น้ำเย็น 1 ส่วน) แช่ไว้ 1 ชั่วโมง แล้วตักเมล็ดถั่วเขียวที่ลอยออกไปทิ้ง ส่วนเมล็ดถั่วเขียวที่เหลือให้แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน
3. นำเมล็ดถั่วเขียวที่แช่ไว้ใส่ในถังเพาะ (ถังน้ำเจาะรูที่ก้นถัง) กะประมาณ ถังน้ำ ออกเป็น 8 ส่วน และตักเมล็ดถั่วเขียวใส่ถังน้ำแค่ 1 ส่วน
4. นำฟองน้ำปิดทับเมล็ดถั่วเขียว และกระเบื้องทับบนฟองน้ำอีกทีหนึ่ง เทคนิค การทับยิ่งแน่นมากเท่าไหร่ถั่วงอกก็จะอ้วนดีมากขึ้นครับ
5. รดน้ำให้ความชื้น เหมือนคนไข้รับประทานยา (เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน)
6. ประมาณ 2-3 วัน เก็บถั่วงอกรับประทานและจำหน่ายได้ครับ







การเพาะถั่วงอกด้วย EM
ถั่วงอกเป็นอาหารคู่ครัวของคนไทย เช่น เป็นเครื่องเคียง ก๋วยเตี๋ยว น้ำ, แห้ง, ผัดไทย, ขนมจีนน้ำยา, หอยทอด, ข้าวยำปักษ์ใต้ ฯลฯ คนไทยมีวิธีเพาะถั่วงอกหลายวิธี เช่น การใส่โอ่ง หมกทราย หมกขี้เถ้าแกลบ ใส่ปี๊ป และอีกสารพัด แต่ละวิธีก็ได้ถั่วงอกออกมาลักษณะที่แตกต่างกัน สั้นบ้าง ยาวบ้าง ผอมบ้าง หรืออวบอัด แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป บางท่านคงเคยนึกรังเกียจรากที่รุงรังของถั่วงอก ต้องเสียเวลาเด็ดทิ้ง หรือตามภัตตาคารต่างๆ เวลาจะนำมาประกอบอาหารก็ต้องเด็ดรากทิ้ง เพื่อความสวยงาม

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมในการเพาะถั่วงอก
  • ขวดพลาสติกขวดน้ำหรือขวดโค๊ก เปล่าๆ เจาะรูที่ก้นขวด 1 รู
  • เมล็ดถั่วเขียวไม่อบ
  • นมสด และ EM (สารสกัดชีวภาพ หรือ EM หรือ Effective Microorganisms นี้คือน้ำหมักที่ได้จากการหมักเศษพืช เศษอาหาร หรือแม้แต่โปรตีนจากสัตว์เช่นน้ำนม Whey หอยเชอรี่ และเศษอาหารเข้าด้วยกัน ในตัวสารหมักจะประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช)
  • ถาดรองขวด
  • กระดาษห่อขวด
ขั้นตอนและวิธีทำ
  • นำถั่วเขียวแช่น้ำร้อน 20-30 นาที
  • หลังจากถั่วเขียวที่แช่ไว้เย็นแล้ว รินน้ำออกใส่น้ำสะอาดลงไปและผสม EM1-2 ฝา แล้วแช่ทิ้งไว้ 3 ชม.
  • แล้วนำถั่วเขียวที่แช่ไว้บรรจุขวดพลาสติกปริมาตร 1/5 ของขวดที่เราใช้เป็นภาชนะเพาะ วางขวดลงบนภาชนะหรือถาดรอง ขวดห่อด้วยหนังสือพิมพ์ไม่ให้แสงเข้า ซุกไว้ในที่มืด
  • นำ EM 2 ฝา ผสมนมสด 2 ฝา ต่อน้ำสะอาด 1 บัว แล้วคนให้เข้ากัน
  • นำไปใส่ขวดที่มีถั่วเขียวบรรจุอยู่ทุกๆ 4 ชม. น้ำที่ลงมาถาดรองก็นำมาใช้ได้อีก 2 ครั้ง จึงผสมใหม่ ประมาณ 2-3 วัน ถั่วเขียวก็จะเจริญเติบโตอวบอ้วนขาวฟูเต็มขวด ก่อนนำไปประกอบอาหารก็ตัดขวด นำถั่วงอกไปผัดได้เลย ที่พิเศษ คือ การเพาะถั่วงอกวิธีนี้ ถั่วงอกจะอวบอ้วน และสวยงามหวาน กรอบอร่อย สวยขาว อยู่ได้เป็นวันๆ ถูกลมก็ไม่ดำ ถ้านำไปแช่ในตู้เย็นก็จะอยู่ได้เป็นอาทิตย์ไม่เน่าเสีย 1 ขวด พลาสติก ผัดได้ 1 จาน
อยากกินแค่ไหนก็ทำแค่พอกินก่อนก็ได้ครับ ทดลองทำทดลองพึ่งตนเองประมาณนี้ไปก่อนครับ
  • 12:30

การป้องกัน  autism

          น่าสนใจเกี่ยวกับสถิติชองเด็กในวัยเรียนที่เป็น autism เพราะว่าในจำนวนเด็ก 150 คน พบว่ามี 1 คนที่เป็น  autism สถิตินี้เป็นของปี 2000 คาดว่าปัจจุบันน่าจะสูงกว่านี้ ในสองทศวรรษที่ผ่านมาเรามุ่งความสนใจไปที่การให้การดูแล และให้การศึกษากับเด็กกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก ในทางควบคู่กันเราให้ความสนใจเกี่ยวกับการหาทางป้องกันน้อยมาก
          สังคมเราควรหันมาให้ความสนใจในการหาทางป้องกันและทำให้หมดไป ดังนั้นเราจะต้องมองให้เห็นและเข้าใจภาพรวมของ autism ข้อมูลจากการศึกษาจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่มีบทบาทสำคัญส่งผลต่อการเกิด autism ก็คือ ระบบภูมิคุ้มกัน
นี่คือสิ่งที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อ autism ก็คือการสัมผัสและเกิดสะสมของสารพิษ Toxin ในร่างกาย ที่มาจาก
  • มลภาวะ ; อาศัยอยู่ใกล้กับที่ตั้งมลพิษ มลพิษทางอากาศที่เป็นอันตราย และที่อยู่ใกล้ทางด่วน
  • สารกำจัดศัตรูพืช ; อาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่ที่มีการใช้งานสารกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรและก่อนคลอดมีการสัมผัสกับสารกำจัดศัตรูพืชประเภท organophosphate
  • Phthalates. ก่อนคลอดมีการสัมผัสกับสาร phthalates (Phthalates เป็นสารเคมีที่ใช้เพิ่มความอ่อน (Softener) ในของเล่นเด็กเล็กที่ทำด้วย PVC เช่น ห่วงยางกัดสำหรับเด็กอ่อน (Teething Ring), Dummies, Rattles ฯลฯ โดยสารอาหารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้)
  • โลหะหนัก ; สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนสารที่มีพิษต่อระบบประสาทรวมทั้งสารปรอท, อลูมิเนียมตะกั่วและแคดเมียม
  • สารตกค้างที่มีอยู่ใน อินทรีย์สาร ; ก่อนคลอดมีการสัมผัสกับของสาร PCBs และท DDE (เมตาโบไล ดีดีที)ในระดับที่สูง
  • อาชีพของมารดา ; มารดาประกอบอาชีพที่มีการสัมผัสกับไอเสียจากการเผาไหม้ และจากสารตัวทำละลาย
พยายามป้องกันหลีกเลี่ยงนะครับ

  • 20:48
          การขนส่งด้วยหลอดสูญญากาศ (อีทีที)  จะเป็นการปฏิวัติวิธีการเดินทางของเราในอนาคต โดยการทำให้หลอดหลอดมีกาศและมีความฝืดน้อยที่สุด และผู้โดยสารจะอยู่ในท่อขนส่งที่มีความเร็วสูงสุดถึง 4,000 ไมล์ (6,500 ชม. ) มันจะสามารถช่วยลดเวลาการเดินทางได้อย่างมหาศาล เรื่องความปลอดภัยไม่ต้องกังวลครับ เพราะว่าการเดินทางด้วยวิธีนี้จะปลอดภัยกว่าและเงียบกว่ารถไฟหรือเครื่องบิน...



การขนส่งด้วยหลอดสูญญากาศ  [Evacuated Tube Transport (ETT)]
  • 21:37
วิธีเพาะเพื่อการค้าเขาทำกันแบบนี้ครับ...รู้ไว้ว่าตอนไหนบ้างที่มีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง

ถั่วงอกเพื่อการค้า
1.คำนวณการใช้เมล็ดถั่วเขียว 
โดยถั่วเขียว 1 กิโลกรัม สามารถเพราะเป็นถั่วงอกได้ 5-6 กิโลกรัม สามารถเลือกใช้ได้ทั้งถั่วงอก ผิวมัน(เปลือกสีเขียว) และถั่วงอกผิวดำ(เปลือกสีดำ) ถั่วเขียวทุกพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย สามารถใช้เพาะถั่วงอกได้ทั้งสิ้น ในอดีตถั่วเขียวที่นิยมใช้เพาะถั่วงอกจะเป็นถั่วเขียวผิวด้าน แต่ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันขึ้นมาหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์อู่ทอง พันธุ์กำแพงแสน และพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวดำ เมื่อเพาะเป็นถั่วงอกแล้วถั่วงอกจะมี สีเขียวกว่าถั่วเขียวผิวมัน ถั่วงอกที่ได้จะออก เหลืองอ่อนๆ ไม่ขาวเท่าถั่วงอกจากถั่วเขียวผิวดำ
2.นำเมล็ดถั่วเขียวที่จะเพาะมาล้างในน้ำที่สะอาด
ช้อนแยกเมล็ดถั่วเขียวที่ลอยอยู่ที่ผิวน้ำ ด้านบน ออก (ไม่ควรนำมาใช้เพาะเป็นถั่วงอก เพราะเมล็ดจะอ่อนเกินไป) คัดเฉพาะถั่วเขียวที่จมน้ำมาเตรียมใช้เพาะ ถั่วงอกเท่านั้น เพราะเป็นเมล็ดที่แก่จัด น้ำที่ใช้แช่ ถั่วเขียวนี้อาจผสมคลอรีนลงไป โดยใช้ความเข้มข้นของคลอรีน 100 พีพีเอ็ม แช่เมล็ด ถั่วเขียวนาน 1-2 ชั่วโมง คลอรีนจะ ช่วยทำความสะอาดเปลือกนอกชของเมล็ดถั่วเขียวที่อาจมีเชื้อรา หรือแบคทีเรียติดมาได้สะอาดถึงร้อยละ 95 ถ้าไม่ สามารถหาผลคลอรีนได้ อาจใช้น้ำร้อนผสมกับน้ำเย็น อัตราส่วน 1:1 ทำเป็นน้ำอุ่น แล้วนำ เมล็ดถั่วเขียวลงแช่นาน 1-2 ชั่วโมง น้ำอุ่นสามารถป้องกันกำจัดเชื้อโรคที่ติดมากับผิวเมล็ดพันธุ์ ถั่วเขียวได้ถึงร้อยละ 75

3.ใส่ถั่วเขียวที่แช่แล้วลงในถังเพาะ
ที่เจาะรูระบายน้ำแล้ว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรู 2-3 มิลลิเมตร เจาะตามแนวเส้น ผ่าศูนย์กลางของรู 2-3 มิลลิเมตร เจาะตามแนวเส้นรอบวงของถัง มีข้อควรสังเกตว่า ขนาดความสูงของถังเท่าใดก็ตาม ต้องใส่เมล็ดถั่วเขียวที่จะใช้เพาะไม่เกิน 1 ใน 3 ความสูงของถังเพาะ เพราะเมื่อถั่วงอกเจริญเติบโตครบอายุถั่วงอกจะดัน ขึ้นมา เองเป็นชั้นๆ และสูงขึ้นมาไม่เกินขอบความสูงของ ปากถัง การที่ผู้เพาะใส่เมล็ดถั่วเพียง 1 ใน 3 ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ถั่วที่ เพาะได้ล้นหกออกมานอกถังเลอะ
4.ถั่วเขียวที่ใส่ลงถังเพาะ
ควรใช้มือเกลี่ยผิวหน้าด้านบนเมล็ดถั่วเขียวให้เรียบ ผิวหน้าจากนั้นใช้ กระสอบป่าน หรือผ้าซาแลน หรือฟองน้ำ ที่ผ่านการนำไปทำความสะอาดโดยการนึ่งฆ่าเชื้อ หรือต้มในน้ำจนเดือดแล้วรอจนเย็น แล้วจึงนำมาคลุมผิวหน้าของถังเพาะถั่งงอกที่ใส่เมล็ดถั่วเขียวลงไปแล้ว

5.ให้นำถังเพาะไปวางบนอิฐบล๊อคทำเป็นขาตั้ง
รองถังเพาะถั่งงอกเพื่อช่วยในการระบายน้ำและอากาศให้ผ่านเข้าออกทางด้านกัน ถังได้ด้วย หรือถ้าเป็นพื้นของโรงเรือนเพาะถั่วงอก วางแผ่นสำเร็จรูป แบบที่มีช่องระบายน้ำและอากาศแบบพื้นคอกโรงเลี้ยง หมู ก็ได้เช่นกัน ถ้าเป็นพื้นโรงเพาะแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องวางถังเพาะถั่วงอกบนอิฐบล๊อคก็ได้

6.การรดน้ำถั่วเขียว
ที่เพาะอยู่ในถัง ปริมาณน้ำที่ใช้แต่ละครั้งต้องให้น้ำเพียงพอ ที่จะทำให้ถั่วงอกที่เพาะไม่เกิดความร้อนสะสมมากเกินไป วิธีสังเกตง่ายๆ ใช้มือสัมผัสดูผิวหน้าเมล็ดถั่วในถังชั้นบนสุดช่วงต่อ ระหว่างแต่ละครั้งของการให้น้ำต้องไม่เกิดสภาพไอร้อนผ่าวขึ้นมา แสดงว่าการให้น้ำแต่ละครั้งจะเพียงพอ เพราะถ้าให้น้ำไม่ เพียงพอและเกิดความร้อนขึ้นในถังเพาะมากมีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของถั่วงอกทำให้ถั่วงอกมีรากฝอยมากขึ้น และต้นจะ โตแบบไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อเพาะถั่วงอกในถังพลาสติก ควรหมั่นรดน้ำสม่ำเสมอ ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ทั้งกลางวัน และ กลางคืน เพราะถังพลาสติกจะไม่่ค่อยเก็บความเย็นไว้ได้เหมือน ถังซีเมนต์ หรือไห ซึ่งสามารถรดน้ำถังที่เพาะได้ช้ากว่าเป็น ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เพราะถังซีเมนต์เก็บความเย็นจากน้ำได้ดีกว่า ถังพลาสติก

7.เมื่อถั่วงอกเจริญเติบโต
มีรากงอกออกมาเล็กๆ ขนาดความยาวของราก 0.5-1 เซนติเมตร หรือเพาะไปแล้ว นาน 18-20 ชั่วโมง (ในเชิงการค้ามีการรดสารถั่วอ้วนเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับถั่วงอกที่เพาะ จะช่วยให้ถั่วงอกมีการสะสม โปรตีนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ถั่วงอกอ้วน และมีน้ำหนักดีขึ้น เหมือนกับถั่วงอกที่เพาะขายในเชิงการค้า โดยก่อนการใช้ สารถั่วอ้วนผสมน้ำรด ควรงดการให้น้ำก่อนและหลังนาน 2 ชั่วโมง เพื่อให้ผิวถั่วแห้งและดูดธาตุอาหารเข้าไปใช้ได้เต็ม และอัตราการใช้สารถั่วอ้วนสามารถใช้อัตรา 1 ซีซี ผสมน้ำสะอาด1 ลิตร หลังจากการรดสารถั่วอ้วนไปแล้ว ก่อนเริ่มรดน้ำใหม่ ควรรดน้ำให้มากกว่าปกติ 5-6 เท่า เพิ่มให้ถั่วขยายขนาดเพิ่มขึ้นผู้เพาะควรผสมน้ำกับสารถั่วอ้วนรดถั่วงอก ที่เพาะวันละ หนึ่งครั้ง และอย่างน้อยควรรดติดต่อกัน 2 วัน โดยห่างจากการให้ครั้งแรกนาน 24 ชั่วโมง ในกรณีผู้ที่จะเพาะทานเองในบ้าน จะเพาะแบบธรรมชาติไม่รดสารถั่วอ้วนก็ได้ แต่ถั่วงอกที่ได้จะผอมยาว และมีรากฝอยเกิดขึ้นมาก อาจจะไม่สามารถนำไป วางขายในเชิงธุรกิจได้)
8.ถั่วงอกเมื่อเพาะครบ 68-72 ชั่วโมง
ถ้าเป็นการเพาะในฤดูร้อน หรือฤดูฝน สามารถเก็บออกมาขายได้ แต่ถ้าสถานที่ เพาะตั้งอยู่ในที่ที่อากาศเย็นหรือเป็นฤดูหนาว อาจต้องขยายเวลาการเจริญเติบโต ของถั่วงอกเป็น 96 ชั่วโมง จึงจะเก็บได้ 
9.การเก็บถั่วงอก
มื่อจะนำออกขายควรนำไปร่อนให้หัวหลุดออก ใช้กระด้งหรือเครื่องร่อนสายพานก็ได้ แต่ถั่วงอกเมื่อเพาะแล้วใน สภาพการขายในบ้านเราจะถูกแสงแดด และหัวถั่วงอกสามารถกลับเขียวขึ้นมาใหม่ได้ ผู้เพาะอาจใช้น้ำผสมสารส้มขุ่นๆ รดใน น้ำ สุดท้ายก่อนเก็บถั่วงอกออกมาขาย แต่ป้องกันการเปลี่ยนสีของหัวถั่งงอกได้ในช่วงสั้นๆ ในเชิงการค้ามีการใช้สารฟอกสี ประเภท โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ จะปลอดภัยมากกว่าการใช้สารฟอกประเภทโซเดียมโฮโดรซัลไฟต์ เพราะสารประเภท หลังส่วนใหญ่ใช้ในธุรกิจฟอก ย้อมอวนมากกว่า และภาคราชการไม่แนะนำให้นำเอาสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์มาใช้กับ ธุรกิจประเภทอาหารในปัจจุบัน ซึ่งผู้ประกอบการควรใช้สารโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ในระดับต่ำและไม่เกินค่าความปลอดภัย ผสมน้ำรดถั่วงอกในน้ำสุดท้ายก่อนนำออกจำหน่าย เพื่อป้องกันไม่ให้ถั่วงอกเปลี่ยนสี หรือคล่ำลง 
(ตอนต่อไป เราจะทำเพื่อเพาะกินเองครับ)
  • 12:37
ถั่วงอก อาหารสุขภาพ
     ...เมื่อฤดูหนาวมาเยือน แม้ความหนาวจะมีช่วงระยะสั้นและหนาวน้อยลงน้อย พืชผักที่เรานำมาเป็นอาหารจะมีให้เราบริโภคน้อยลงแต่ราคาแพงขึ้น ความต้องการทางร่างกายของเรายังคงเดิม เราต้องมองหาทางเลือกใหม่เพื่อทดแทนพืชผักที่หายากและราคาแพง ด้วยคุณค่าทางอาหาร  ถั่วงอก เมล็ดงอก ต้นอ่อน หรือหน่ออ่อน น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง...บางชนิดมีสารต้านมะเร็ง ลดความเสี่ยงจากมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น เมล็ดงอกของบล็อคโคลี่ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด และเมื่อเทียบระหว่างเล็ดงอกของบล็อกโคลี่กับหัวบล็อกโคลี่ พบว่า เมล็ดงอกของบล็อกโคลี่ มีความสามารถในการต่อต้านมะเร็งสูงมากกว่า 100 เท่า (One study published in the Proceedings of the National Academy of Science in 2004 (and later featured in Time magazine) linked broccoli sprouts to reduced risk of stroke, high blood pressure and cardiovascular disease. Another, earlier study from John Hopkins University noted that broccoli sprouts have higher levels of cancer fighting compounds than broccoli heads—up to 100 times higher.)

ตารางเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารระหว่างผักงอกชนิดต่าง ๆ

ผักงอกดิบ
(ปริมาณ 2 ถ้วย)
พลังงาน
(คาลอรี่)
โปรตีน
(กรัม)
เส้นใย
%
วิตามินซี
ธาตุเหล็ก
Folate
ถั่วอัลฟัลฟางอก
10
1.3
3
5
2
3
ถั่วเขียวงอก
26
2.5
4
23
4
9
ผักกาดแดงงอก
16
1.6
A
18
2
9
ถั่วเหลืองงอก
86
9.0
3
17
8
90
ข้าวสาลีงอก
214
8.0
4
5
11
10

(Created chart by FDA Consumer Magaqine/U.S. Agriculture Department)
หมายเหตุ : วิตามินซี ธาตุเหล็ก และ Folate มีปริมาณเป็น % daily value (จาก "SPROUTS AND NUTRITION" by ISGA-International Sprout GrowersAssociation/website address www.isga-sprouts.orgX)

ถั่วงอก เมล็ดงอก ต้นอ่อน หรือหน่ออ่อน (sprout) คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง?  ถั่วงอก เมล็ดงอก ต้นอ่อน หรือหน่ออ่อน เป็นต้นเล็กๆที่งอกออกมาจากเมล็ดโดยไม่จำเป็นต้องใช้ดิน แต่ใช้สารอาหารที่ถูกเก็บสะสมอยู่ภายในเมล็ด สร้างต้นอ่อน และใบอ่อนขึ้นมา ก่อนที่จะต้องการดินและแสงแดด ทุกส่วนไม่ว่า ราก ต้นอ่อน ใบอ่อน เราสามารถกินได้หมด ทำแซนดวิชส์ สลัด จิ้ม ราด หรือผัด

ชนิดเมล็ด
รสชาติ
นำไปทำอาหาร
alfalfa
mild
salads, sandwiches
broccoli
distinct
salads, sandwiches, dips, spreads
clover
mild
salads, sandwiches
fenugreek
bitter
salads, stir fries (good mixed with other sprouts)
lentils (blue, red, green)
varies
salads, soups, dips
mung beans
mild
salads, stir fries
mustard (oriental)
spicy
salads, sandwiches, dips
radish
spicy
salads, sandwiches, dips
quinoa
distinct
salads, dips, soups, spreads
sunflower
distinct (almost peppery)
salads, sandwiches, spreads

สำหรับบ้านเราให้เริ่มที่ถั่วงอกก่อนครับ...ทำไมต้องถั่วงอก ?  เพาะง่ายปลอดสารพิษ เป็นผักชนิดเดียวที่ใช้เวลาเพาะเพียง 3-4 วัน และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
ทำไมไม่ควรซื้อกิน ?  ถั่วงอกส่วนใหญ่ที่จำหน่ายนั้นมีสารเคมีปนเปื้อนโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์, ฟอร์มาลิน เพราะผู้ขายต้องการสนองตลาดผู้บริโภคที่ชอบถั่วงอกที่มีความกรอบขาว และอวบอ้วน นอกจากนี้ผู้ขายยังต้องการรักษาถั่วงอกให้คงความสดอยู่นานระหว่างการขนส่งสู่ตลาด และระหว่างการรอจำหน่ายสู่ลูกค้า สารเคมีเหล่านี้เป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายสูง หากรับประทานเข้าไปอาจจะมีผลต่อ ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาท และท้ายสุดอาจจะทำให้เสียชีวิต

เราทำได้ครับ  มาเพาะถั่วงอกกินเองกันเถอะครับ ทำได้ครับ อร่อย ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วย นี่คือวิธีและขั้นตอนการเพาะถั่วงอก…ตามผมกันเลยครับ ลองทำแค่พอกินก่อนครับ เหลือก็แจก หรืออยากทำขายก็ได้

(ตอนต่อไป...เทคนิคในการเพาะถั่วงอก)

A call-to-action text Contact us