:::: MENU ::::
  • 13:45

ระวังไว้หน่อยดีกว่า! ทำไมไม่ควรอยู่กับรังสีเหล่านี้เกินกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน


ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตามากกว่า ร้อยละ 80
สาเหตุมาจากการได้รับรังสียูวี (UV)400, ยูวีเอ (UVA) 1 และแสงสีฟ้า
จากการจ้องมองคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เป็นเวลานานเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน

ปกติคนเราจะกะพริบตาประมาณ 20 ครั้งต่อนาที เพื่อให้ตาได้รับความชุ่มชื้น การเพ่งมองเป็นเวลานานจะทำให้ตาแห้ง แสบตา ส่งผลให้การมองเห็นเริ่มผิดปกติ

1:รังสียูวี UV / UVA, Eye injury

2:รังสียูวี UV / UVA
#รังสียูวี UV / UVA
  • 21:26
หุ่นยนต์ทางการเกษตร จากการทดลองมายาวนานกว่า 20 ปี นี่คือสิ่งที่เราจะได้เห็นในการทำการเกษตร เพื่อนำมาทดแทนแรงงานคนงาน ใช้เทคนิคการสแกนช่วยในการทำงาน ดูความแตกต่างของสเปคตรัมแสงบวกกับความก้าวหน้าด้านการคำนวน เมื่อต้องการคัดเลือกเก็บเกี่ยวผลผลิต

นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องพ่นยากำจัดศัตรูพืช ที่ให้ความเที่ยงตรง ทั้งขนาดและปริมาณในการใช้

Agricultural robots are appearing on farms
Significant numbers of robots are now appearing on farms. These have been in development for 20 years and are now cheap and sophisticated enough for mainstream use. New scanning and imaging technology has solved the problem of allowing robots to handle the varying shapes of individual fruits and vegetables. Their on-board computers can now differentiate between an object and its shadow and between green fruits, leaves and vines. This is accomplished using an array of cameras, each picking up a different spectrum of light and creating a perfect picture of the obstacles and topography in the robot's surrounding environment.

หุ่นยนต์ทางการเกษตร Agricultural robots

Complex algorithms allow robotic workers to "learn" the longer they are on the job, so they become more adept as time goes on. This helps the computer to recognize a fruit that is partially covered by a leaf or similar obstruction, for example. The grasping tools themselves are based on human movements and are programmed to apply the correct pressure.

Advantages of this technology include much greater accuracy in spraying pesticides (cutting its use by 80%), uninterrupted output, and, as the technology improves, greater efficiency and speed. Initially, these robots are present on a small number of farms, often working alongside traditional human workers. As the years go by, however, and the technology proliferates, more and more farms begin to adopt robotic workers.

By the 2020s, entire farms are becoming fully automated.
The increased output helps to alleviate food shortages caused by rising global populations. Despite these gains, agricultural robots prove controversial. They exacerbate the ongoing unemployment crisis, with the potential of putting many thousands of workers out of a job. Mechanization continues its unending progress, as yet another industry begins to be handed over to machines.

  • 21:31
แก็ดเจ็ต “โดรน” หรือ “มัลติโรเตอร์”
หุ่นยนต์อัตโนมัติ หรือที่เรามักจะเรียกมันว่า  “อากาศยานไร้คนขับ(UAV)” (UAV: Unmanned Aerial Vehicle)

"โดรน" อากาศยานไร้คนขับ พัฒนาการของมันสามารถใช้ได้ทั้งทางการทหาร ด้านความมั่นคง และในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ต้องใช้มนุษย์ขึ้นไปนั่งบังคับ ใช้วิธีควบคุมจากคอมพิวเตอร์ระยะไกล ส่วน "โดรน" เป็น "ยูเอวีติดอาวุธ" ถูกใช้ในการทหาร มีโปรแกรมควบคุมที่มีระบบซับซ้อนกว่า เช่น ใช้ถ่ายรูปสอดแนมประเทศศัตรู โจมตีค่ายก่อการร้ายข้ามชาติ ลอบสังหาร ฯลฯ

"โดรน" อากาศยานไร้คนขับ UAV

"โดรน" ถูกพัฒนาต่อเนื่องจนใช้ประโยชน์ได้จริงตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพสหรัฐส่งบินสอดแนมข่าวกรองในสมรภูมิสงคราม เมื่อปี 2544 มันถูกปรับปรุงให้ทันสมัยกลายเป็นอาวุธเพชฌฆาตล่องหนและไร้วิญญาณ โดยติดขีปนาวุธก่อนส่งลักลอบบินเข้าไปสังหารบุคคลสำคัญในประเทศปากีสถานและอุซเบกิสถาน จากนั้นก็ถูกสั่งให้บินไปสังหารกลุ่มอัล-ไกดาในเยเมน ช่วงปี 2545 แต่ที่กลายเป็นข่าวโด่งดังจนถูกต่อต้านจากหลายฝ่ายคือ กองทัพอิสราเอลใช้โดรนติดอาวุธร้ายแรงบินเข้าไปทิ้งระเบิดลอบสังหารชาวปากีสถานเกือบ 50 ราย ในฉนวนกาซา จนทำให้เด็กและผู้หญิงกลุ่มหนึ่งเสียชีวิตไปด้วย

เดิม "โดรน" มีราคาที่แพงเอาเรื่องสุดๆ ในตอนนั้นมักจะใช้กันในหมู่กองถ่าย หรือไม่ก็สำนักข่าว มากกว่า แต่เดี๋ยวนี้เริ่มมีราคาถูกลงขึ้นมาบ้างแล้ว จนคนทั่วไปสามารถครอบครองได้  "โดรน" นอกจากเอามาทำงานแล้ว ยังเอามาบังคับเล่นเพื่อความเพลิดเพลินไม่ต่างจาก เครื่องบินบังคับ

"โดรน" แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก หนักไม่เกิน 20 กก. ขนาดกลาง หนักประมาณ 50-100 กก. ขนาดใหญ่ หนักมากกว่า 100 กก.ขึ้นไป

แม้ว่ายูเอวีจะถูกกลุ่มนักสิทธิมนุษยชนต่อต้านว่าเป็นอาวุธร้ายแรงไร้มนุษยธรรม แต่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ยังพยายามส่งเสริมให้วิศวกรของตัวเองพัฒนายูเอวีให้มากที่สุด เพราะนอกจากเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศแล้ว ช่วงสิบปีที่ผ่านมาเครื่องบินไร้คนขับถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ถ่ายสภาพภูมิอากาศ สืบหาพายุเฮอริเคน ขนส่งสินค้าขนาดเล็ก สืบหาคนหลงป่า ผู้ช่วยนักดับเพลิง ฯลฯ

ส่วน"โดรน" ไฮเทคสุด เป็นเทคโนโลยีของกองทัพสหรัฐสามารถบินได้ไกลข้ามทวีป ประมาณ 1,000 กิโลเมตร บินยาวนานถึง 10 ชั่วโมง ติดอาวุธขีปนาวุธร้ายแรงได้ด้วย ส่วนการบังคับนิยมใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมการบินและเส้นทางอัตโนมัติให้ไปยังจุดหรือพื้นที่ที่กำหนดได้ และสามารถติดตามข้อมูลแสดงการบินจากหน้าจอคอมพิวเตอร์

UAV โดรน ของกองทัพสหรัฐ
สำหรับประเทศไทยนั้น ยูเอวีถูกพัฒนาทั้งใน 3 หน่วยงานหลักคือ กองทัพ มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน มีการแข่งขันวิจัยและพัฒนาหลายโครงการ จุดประสงค์ใช้งานแตกต่างกันไป

  • 15:08
หุ่นยนต์แมลงขนาดเล็ก ขนาดเเท่าของจริง กำลังถูกพัฒนาขึ้นในกองทัพของสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญมันกำลังจะกลายเป็นสินค้าที่เราหาซื้อได้เอง มันเป็ได้มากกว่าโดรน บันทึกภาพ เสียง Modem GPS

"Micro aerial vehicles" - no larger than a common house fly - are currently being developed by the US military and could enter mass production later this decade.
These machines could be used in spying missions, recording and transmitting audio-visual information. An individual robot would serve as a literal "fly on the wall" - equipped with miniature cameras, microphones, modem and GPS. Many terrorist cells could be infiltrated thanks to this radical new technology.

หุ่นยนต์แมลงขนาดเล็ก Micro aerial vehicles

  • 19:54
50 ปีข้างหน้าน้ำมันอาจจะหายากหรืออาจหมดไปจากโลก การหาพลังงานทดแทนถือเป็นสิ่งที่ต้องเอาจริง นี่คือหน้าตาของเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริดจ์ solar and hybrid technology ชื่อ "Black Magic" ยาว 125  เมตร ขับเคลื่อนโดยอาศัยพลังงาน แสงอาทิตย์ พลังงานลม ชาร์จเก็บสะสมในแบ็ตเตอรี่  lithium-ion

As oil continues to decline, perhaps even disappearing within 50 years, larger bulk carriers may transition to solar and hybrid technology. Below is one such concept. The "Black Magic" tanker is a 125m long solar hybrid vessel that would cut greenhouse gas emissions by 75 to 100% - harnessing energy from the Sun, wind and waves to charge a lithium-ion storage system.

เรือพลังงานแสงอาทิตย์ The "Black Magic" tanker
  • 10:57
ได้รับรางวัลการออกแบบไปแล้ว กับการที่สามารถนำตู้โทรศัพท์ที่ใช้แล้วมาชุบชีวิตใหม่ให้กลายเป็นแหล่งชาร์จโทรศัพท์มือถือพลังงานแสงอาทิตย์ ชื่อว่า Solarbox ที่สำคัญ ชาร์จฟรีเจ้า
มาทำที่เมืองไทยบ้างมีเยอะเลย

Solarbox is an award-winning project created by a team of young entrepreneurs in London. It takes disused telephone boxes and transforms them into free, solar-powered charging points for mobile phones. The first solarbox was launched this month at Tottenham Court Road in the heart of the West End and more are planned.

ภานนอก Solarbox

ภายใน Solarbox

ภายใน Solarbox : สายชาร์จโทรศัพท์ยี้ห้อต่างๆ


วีดีโอ ตู้ชาร์จมือถือ ดัดแปลงจากตู้โทรศัพท์

  • 21:34
หัวใจเทียมที่ทำงานได้เอง ;Professor Alain Carpentier 

จาก ค.ศ. 1940 สู่หัวใจเทียม แต่ใช้ได้จริง
หัวใจเทียม ผลงานของ ศาสตราจารย์ชาวฝรั่งเศส Alain Carpentier รังสรรค์จากส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างชีวะวัตถุกับสุดยอดตัวรับสัญญาณ อิเล็กทรอนิกส์ น้ำหนักและขนาดเท่าของจริง และที่สำคัญคือ มันทำงานได้จริงกับมนุษย์

ภายในปี ค.ศ. 2015 คงจะได้เห็นจำหน่ายในสหภาพยุโรปเป็นที่แรก เงินดอลลาร์ยูโร ราคาอยู่ที 140,000 ถึง 180,000 ดอลลาร์ยูโร  คิดเป็น เงินดอลลาร์สหรัฐ ก็ราวๆ 190,000 ถึง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นเงินไทยก็ประมาณ 6,000,000 บาท 7,900,000 บาท ใครจะใช้ต้องเตรียมเงินไว้เยอะๆหน่อยล่ะกัน

หัวใจเทียม Artificial heart ;Professor Alain Carpentier 
The first self-regulating artificial heart

In 2013, French Professor Alain Carpentier engineered the first self-regulating artificial heart, using biomaterials and electronic sensors. The device weighed 900g, was roughly the same size as a real heart and could imitate its functions exactly. In a 10-hour operation, it was successfully implanted within a 75-year-old patient at the Georges Pompidou European Hospital in Paris.*

Permanent artificial hearts had been around since 1982, with similar inventions that preceded them going back to the 1940s. Unlike previous versions, however, Carpentier's invention was the first to be completely artificial and self-regulating. Electronic sensors and microprocessors could monitor blood pressure and flow in real time – instantly adjusting the pulse rate – while a "pseudo-skin" made of biosynthetic, micro porous materials could prevent blood clots, which had been a major issue in the past. By 2015, after a period of clinical trials, it is available within the European Union, priced between 140,000 and 180,000 euros (about US$190,000 to $250,000).*

 
  • 20:33
เครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 D
ก้าวข้ามขีดจำกัดของเทคโนโลยีชีวภาพ ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ากับชีวิต เรากำลังจะมีพริ้นเตอร์ที่สามารถพิมพ์อวัยวะ และพิมพ์ซ่อมแซมผิวหนัง ได้ด้วยหมึกพิมพ์ที่ทำจากเซลล์

Bio-printers
Scientists are developing 3D "bio-printers", a cutting-edge technology that will allow the creation of synthetic human tissue on demand. In the future, these machines could be used to print entire replacement organs, as well as being available for cosmetic procedures.

ดูการทำงานของเครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 D


  • 11:10
การมีจำนวนประชากรที่มากอย่างเดียว ไม่ได้จะบ่งบอกว่า ประเทศนั้นจะสามารถเจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเหนือผู้อื่น แต่อยู่ที่ประชากรต้องมีคุณภาพต่างหาก

ในอดีตจีนเคยเป็นอณาจักรที่เคยเจริญรุ่งเรืองทั้งการค้าและวิทยาการ และก็เคยผ่านการแตกแยกเสื่อมถอยไปตามเวลา ในบางช่วงของประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันจีนกำกังจะกลับมาครองโลก จีนกำลังจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง


อดีต ถนนทุกสายล้วนมุ่งสู่กรุงโรม แต่ปัจจุบัน ถนนทุกสายกำลังมุ่งสู่จีน

กำแพงเมืองจีน

กำแพงเมืองจีนที่ทอดยาวบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่

นี่คือ มหานครปักกิ่ง

  • 10:44
เจ๋งมั้ย...ถนนพลังแสงอาทิตย์ สายแรกบนโลก


ถนนพลังแสงอาทิตย์ ใช้เดินทางสำหรับจักรยาน และสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้

  • The world's first solar-powered road. A project creating the first solar-powered bicycle path will be officially opened in the Netherlands next week. If successful, it could be applied to 20% of the country's roads in the future.




  • 20:36
หุ่นยนต์ทำให้รูปแบบการผ่าตัดเปลี่ยนไปหรือ
(เทคโนโลยีช่วยลดภาระของแพทย์และผู้ป่วย)

เมื่อราว 10 ปีก่อนหน้านี้ ยังมีการผ่าตัดโรคนิ่วในถุงน้ำดีโดยต้องเปิดช่องหน้าท้องให้มีความยาวราว 20 เซนติเมตร แต่ตั้งแต่ครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1980 ได้มีการพัฒนาการผ่าตัดโดยใช้เอนโดสโคป (endoscope) การผ่าตัดแบบนี้จะเปิดหน้าท้องยาวเพียง 5 มิลลิเมตรถึง 1 เซนติเมตร ประมาณ 3 -4 แห่ง แล้วก็สอดกล้องเอนโดสโคปซึ่งเป็นกล้องขนาดเล็กเข้าไปเพื่อดูสภาพภายในช่องท้อง แล้วก็นำเอาเครื่องมือต่างๆ เช่น กรรไกรผ่าตัดขนาดเล็กและยาว มีดผ่าตัดไฟฟ้า แคลมป์ ฟอร์เซป เป็นต้น เข้าไปในช่องท้อง ทำการผ่าตัดและห้ามเลือดเหมือนกับวิธีการแบบเปิดหน้าท้องทั่วไป การผ่าตัดโดยใช้เอนโดสโคปนี้ทำให้เกิดบาดแผลบนร่างกายเพียงเล็กน้อย และทำให้ร่างกายไม่เจ็บปวดและบอบช้ำ ช่วงหลัง 10 ปีมานี้วิธีการนี้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว วิธีผ่าตัดแบบเก่า ผู้ป่วยจะต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลังผ่าตัดอย่างน้อยถึง 1 สัปดาห์ แต่ถ้าใช้เอนโดสโคป ผู้ป่วยบางรายก็สามารถกลับบ้านได้เลยในวันรุ่งขึ้น

ในประเทศญี่ปุ่น ศาสตราจารย์อิเดซึกิ ยาซึโอะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวและศาสตราจารย์ยามากาวา ทัตสึโร แห่งมหาวิทยาลัยเทเคียว ทั้งสองเป็นผู้เริ่มนำเอาวิธีผ่าตัดโดยใช้เอนโดสโคปมาใช้เป็นกลุ่มแรกๆ และวิธีนี้ก็แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับศัลยกรรมที่ใช้วิธีการดั้งเดิมในการผ่าตัดนั้นต้องใช้มือสอดเข้าไปซึ่งจะสามารถใช้ความรู้สึกสัมผัสร่วมด้วยได้ในขณะผ่าตัด แต่ถ้าใช้เอนโดสโคปซึ่งเป็นการผ่าตัดโดยไม่ได้สัมผัสผู้ป่วย ทำให้ไม่ได้ใช้สัมผัสทั้งห้าและแพทย์เองจะรู้สึกว่าการผ่าตัดอาจไม่ได้ผล เพราะต้องดูจากภาพ (monitor) ซึ่งเป็นภาพ 2 มิติ ดังนั้นจึงมีการเรียกร้องเทคโนโลยีที่สูงขึ้นในการผ่าตัด ทั่วโลกต่างก็พยายามที่จะทำการวิจัยในด้านวิศวกรรม เพื่อช่วยให้การผ่าตัดนั้นง่ายขึ้นทั้งต่อศัลยแพทย์และผู้ป่วย ความพยายามหนึ่งคือการพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัด

ในยุโรปและสหรัฐอเมริกานั้นมีบริษัทหลายแห่งที่ได้พัฒนาหุ่นยนต์ หรือมานิพูเลเตอร์ (manipulator) ขึ้นเพื่อใช้ในการผ่าตัด เทคนิคในการผ่าตัดแบบนี้ ทั้งหมดใช้การควบคุมโดยมิได้สัมผัสตัวผู้ป่วยโดยตรง ในญี่ปุ่นเองก็มีมหาวิทยาลัยและบริษัทชั้นนำต่างๆ หลายแห่งที่มีความก้าวหน้ามากในการพัฒนางานวิจัยมานิพูเลเตอร์สำหรับงานผ่าตัดด้วยเอนโด-สโคปนี้ และเรียกมานิพูเลเตอร์นี้รวมว่าคือ หุ่นยนต์ผ่าตัด หุ่นยนต์ผ่าตัดนี้ไม่ได้เหมือนหุ่นยนต์ที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมหรือในโรงงาน ซึ่งในโรงงานนั้นการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์นั้นจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติ แต่สำหรับหุ่นยนต์ผ่าตัดจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของศัลยแพทย์อย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน เพราะฉะนั้น การทำงานของหุ่นยนต์ทั้งสองแบบจึงมีความแตกต่างกัน ไม่สามารถนำคำอธิบายหุ่นยนต์ทั่วไปมาใช้อธิบายหุ่นยนต์ผ่าตัดได้

ทุกวันนี้ การผ่าตัดตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนเสร็จสิ้นโดยใช้หุ่นยนต์ทั้งหมดไม่ได้เป็นเพียงความฝันอีกต่อไป หุ่นยนต์ผ่าตัดที่พัฒนาขึ้นได้ให้ข้อมูลมากกว่าความรู้สึกของศัลยแพทย์ การผ่าตัดมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้นกว่าการใช้มือของศัลยแพทย์ และยังมีความปลอดภัยและประสบความสำเร็จสูงกว่า นั่นคือจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของการใช้งานหุ่นยนต์ผ่าตัด

ประเด็นสำคัญ
·         การเปลี่ยนจากการผ่าตัดโดยเปิดหน้าท้อง มาเป็นการใช้เอนโดสโคป ช่วยลดความบอบช้ำของผู้ป่วย
·         การพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดกำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
  • 12:53
แบตเตอรี่แบบใหม่ใช้จุลินทรีย์
(วิธีการได้พลังงานไฟฟ้าจากสิ่งมีชีวิต)

ในขณะที่เกิดความวิตกกังวลถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงประเภทน้ำมันดิบและถ่านหิน ก็มีเสียงเรียกร้องถึงการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มากยิ่งขึ้น

วิธีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนให้เป็นพลังงานชนิดต่างๆ ได้แก่ งานวิจัยการผลิตแบตเตอรี่แสงอาทิตย์หรือการใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือจากการใช้สิ่งมีชีวิตที่แม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็มีความสามารถเสมือนว่าเป็นโรงงานไฟฟ้าประเภทหนึ่ง ระบบการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์โดยอาศัยการสังเคราะห์ด้วยแสงของสิ่งมีชีวิต เช่น พืชต่างๆ สามารถนำมาพัฒนาเป็นแบตเตอรี่แสงอาทิตย์ได้

หลักการผลิตพลังงานแบบนี้ คือ จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและการหายใจที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะได้อิเล็กตรอนอิสระ อิเล็กตรอนที่ได้ก็คือ พลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นรูปแบบของพลังงานที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต พลังงานไฟฟ้าที่กล่าวถึงนี้กำลังอยู่ในระหว่างการวิจัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ภายนอกเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยที่ใช้ไฟฟ้าจุลินทรีย์ซึ่งเรียกว่า แบตเตอรี่จุลินทรีย์

ยกตัวอย่างแบตเตอรี่จุลินทรีย์ที่ใช้สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue green algae) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ การผลิตพลังงานไฟฟ้านั้นจำเป็นจะต้องนำเอาอิเล็กตรอนที่ผลิตได้ภายในเซลล์ออกมาสู่ภายนอก แต่ส่วนนอกของเซลล์ประกอบขึ้นจากเยื่อหุ้มเซลล์และผนังเซลล์ ทำให้การนำอิเล็กตรอนออกมาโดยตรงไม่สามารถทำได้ ดังนั้นในกรณีของการสร้างแบตเตอรี่จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสงจึงจำเป็นต้องมีการส่งต่ออิเล็กตรอนด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชัน – รีดักชัน อิเล็กตรอนก็จะถูกขนส่งออกมาจนถึงอิเล็กโทรด ทำให้สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าในที่สุด

สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินนั้นจะดูดกลืนเอาพลังงานแสงอาทิตย์เข้าไปและผ่านปฏิกิริยาการใช้แสง (light reaction) เพื่อจะส่งต่ออิเล็กตรอนไปเป็นทอดๆ เหมือนลูกโซ่ ลูกโซ่นี้เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสาหร่าย ส่วนตัวรับอิเล็กตรอนจะอยู่ภายนอกเซลล์ ตัวรับอิเล็กตรอนที่อยู่ภายนอกนี้จะเป็นตัวสุดท้าย ตัวรับตัวสุดท้ายนี้จะถูกรีดิวซ์แล้วเคลื่อนที่ไปส่งอิเล็กตรอนให้กับขั้วอิเล็กโทรด ทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้า และเกิดปฏิกิริยาการรับอิเล็กตรอน (reduction) ขึ้นในขั้วตรงกันข้าม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นหลักการของแบตเตอรี่จุลินทรีย์

ประเด็นสำคัญ
·         มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับการนำเอาพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นภายในเซลล์ออกมาใช้ภายนอกเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จุลินทรีย์ที่เรียกว่า แบตเตอรี่จุลินทรีย์

ภาพที่ 68 แผนภูมิตัวอย่างแสดงแบตเตอรี่จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง

อธิบายศัพท์
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน : สิ่งมีชีวิตประเภทโปรคาริโอต (prokaryote) ซึ่งไม่มีนิวเคลียส (nucleus) และพลาสติด(plastid – องค์ประกอบภายในเซลล์ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสี เช่น คลอโรพลาสต์ที่มีคลอโรฟิลล์อยู่ – ผู้แปล)
  • 13:33
พืชพลังงานชนิดใหม่
(พืชพลังงานคืออะไร)

นอกจากจะใช้ของเหลือทิ้งมาเป็นสารตั้งต้นสำหรับการผลิตพลังงานชีวภาพแล้ว ยังมีการเพาะปลูกพืชเพื่อนำมาใช้ผลิตพลังงานโดยเฉพาะอีกด้วย พืชเหล่านี้เรียกว่า พืชพลังงาน เนื่องจากพลังงานฟอสซิล (เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น – ผู้แปล) แม้จะมีราคาสูงขึ้นมาก แต่การใช้พืชพลังงานก็ยังไม่คุ้มทุนทำให้การเพาะปลูกเพื่อให้ได้สารตั้งต้นมาใช้สำหรับการผลิตพลังงานนั้นยังไม่ได้รับความสนใจจากเกษตรกร นอกจากนี้การสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อการผลิตมวลชีวภาพหรือชีวมวลให้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่มาก

การผลิตเอทานอลจากมวลชีวภาพนั้นใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์โดยการหมักพืชต่างๆ รวมทั้งข้าวโพดและอื่นๆ ต่างก็มีองค์ประกอบหลักคือเซลลูโลส (cellulose) และลิกนิน (lignin) สำหรับเซลลูโลสนั้น จำเป็นต้องอาศัยเอนไซม์ เซลลูเลส  (cellulase)” ช่วยเร่งการย่อยสลาย แล้วหมักด้วยจุลินทรีย์ เมื่อนำไปกลั่นจะได้เอทานอลบริสุทธิ์มาใช้ต่อไป
สหรัฐอเมริกานำเอาเอทานอลที่ผลิตได้จากข้าวโพดมาใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน ส่วนในบราซิลมีการผลิตเอทานอลบริสุทธิ์ได้จากอ้อยเป็นสารตั้งต้น ปัจจุบันในบราซิล รถยนต์ราว 30% หันมาใช้เอทานอลแทนน้ำมันเบนซิน อย่างไรก็ตามแม้ราคาของน้ำมันเบนซินจะสูงกว่าเอทานอล แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องเนื้อที่เพาะปลูก คำนวณกันว่าแม้จะนำข้าวโพดทั้งหมดในโลกมาผลิตเป็นเอทานอล ก็จะครอบคลุมเพียง 10% ของปริมาณการใช้น้ำมันแก๊สโซลีน (เบนซิน)

ดังนั้น การจะพึ่งพาพลังงานจากมวลชีวภาพในการทดแทนน้ำมันได้ยั่งยืนและยาวนาน จำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบเกษตรกรรมโดยรวมทั้งหมดเลยทีเดียว

หนึ่งในงานวิจัยเพื่อที่จะพัฒนาการนำมวลชีวภาพมาใช้ทดแทนน้ำมันคือ การปลูกไม้โตเร็วเพื่อใช้เป็นพืชพลังงานให้ได้คุ้มทุน เช่น ต้นป๊อปปลาร์ ต้นหลิว เป็นต้น ต้นไม้เหล่านี้เป็นแหล่งของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถเปลี่ยนเนื้อไม้เหล่านี้ให้เป็นเอทานอลได้ ซึ่งจะทำให้เอทานอลที่ผลิตได้ในต่างประเทศมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซิน (แต่ในประเทศไทย ยังไม่คุ้มทุน – ผู้แปล)

(ส่วนการใช้แก๊สโซฮอล์ในประเทศไทยนั้น ในปี พ.ศ. 2550 มีการใช้ชนิด E10 (มีส่วนผสมของเอทานอล 10%) กันแพร่หลาย โดยมีมูลค่าการใช้ประมาณ 5,000 ล้านบาท และกำลังจะมีการนำแก๊สโซฮอล์ชนิด E20 (มีส่วนผสมของเอทานอล 20%) มาใช้ ในอนาคตอาจพัฒนาไปถึงการใช้ชนิด E50 หรือ E85 (ที่มีส่วนผสมของเอทานอลสูงกว่าแก๊สโซฮอล์ที่ใช้ในปัจจุบัน) ก็เป็นได้ – ผู้แปล)

ประเด็นสำคัญ
·         การผลิตพลังงานจากมวลชีวภาพวิธีหนึ่ง คือ ปลูกพืชเพื่อการผลิตพลังงานโดยเฉพาะ
·         การจะพึ่งพาพลังงานจากมวลชีวภาพในการทดแทนน้ำมันได้อย่างยั่งยืนและยาวนานนั้น จำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบเกษตรกรรมโดยรวม
  • 21:48
เทคโนโลยีชีวภาพกับประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
(พืชตัดต่อยีนกับประโยชน์เหลือคณานับ)

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตัดต่อยีน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอายีนที่มีประโยชน์เข้าสู่ต้นพืข การเกษตรสมัยใหม่ต้องการทั้งคุณภาพและปริมาณของผลผลิต ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีตัดต่อยีนจึงมีความสำคัญยิ่ง ผลผลิตชนิด       แรกที่ได้รับการตัดต่อยีนคือ มะเขือเทศ ผิวของมะเขือเทศมีสุกนั้นจะอ่อนตัวทำให้มะเขือเทศเน่าเสียง่าย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก   เพกทิน (pectin) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยให้ผิวมะเขือเทศมีความแข็งแรง ถูกทำลายด้วยเอนไซม์ที่มีชื่อว่า  พอลิกาแล็กทูโรเนส (polygalacturonase)” ในปัจจุบันด้วย วิธีแอนติเซนส์ (antisense method – การเติมสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่งที่เข้าคู่กันได้กับสายอาร์เอ็นเอของยีนที่สนใจ ทำให้อาร์เอ็นเอไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์โปรตีนได้ จึงไม่มีการสร้างโปรตีนหรือเอนไซม์นั้นๆ เกิดขึ้น – ผู้แปล)  ช่วยยับยั้งการสร้างเอนไซม์ชนิดนี้ในเซลล์ ผลลัพธ์คือ ได้มะเขือเทศที่แม้ว่าจะสุกแล้วแต่ผิวก็ไม่อ่อนตัว ยังแลดูสวยงามและแข็งแรง

Pectin

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ การใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดที่มีชื่อว่า ไกลโฟเสต (Glyphosate)” ในการเกษตร มักถูกทำลายด้วยเอนไซม์บางชนิดจากแบคทีเรียในดิน เมื่อนำยีนที่สร้างเอนไซม์ดังกล่าวมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม แล้วย้ายเข้าสู่ต้นพืช ต้นพืชก็จะทนต่อไกลโฟเสตได้ และเมื่อใช้ไกลโฟเสตในแปลงเพาะปลูก พืชของเราที่มียีนที่สร้างเอนไซม์นี้อยู่จะทนต่อไกลโฟเสต จึงมีแต่เฉพาะต้นหญ้าและวัชพืชเท่านั้นที่จะเหี่ยวตายไป ทำให้สามารถกำจัดวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พืชที่มีการตัดต่อยีนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง เรปซีด (rape-seed) และข้าวโพด ก็ล้วนแต่บริโภคแล้วไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ ต่อร่างกายมนุษย์

ในอีกด้านหนึ่ง ผลผลิตจากการตัดต่อยีนที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้รับความสนใจมาก คาดกันว่าทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีมากกว่า 300 ล้านคน จึงมีแนวคิดที่จะผลิตวัคซีนต้านโรคดังกล่าวในหัวแครอท เมื่อรับประทานหัว แครอทแล้วก็จะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ยังมีข้าวที่ได้รับยีนที่สร้างเฟอร์ริทิน (ferritin) เฟอร์ริทินเป็นโปรตีนที่ช่วยเก็บรักษาธาตุเหล็กในเซลล์ ด้วยวิธีนี้จะช่วยรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางที่มีอาการจากการขาดธาตุเหล็กได้ หรือว่าจะเป็นมะเขือเทศที่มีไลโคปีนในปริมาณมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าไลโคปีนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีการตัดต่อยีนเพื่อใช้เป็นยาสำหรับการป้องกันและบำบัดรักษาโรคต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยใช้ความรู้ด้านยีนและดีเอ็นเอ เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อผิวหนังของเราได้รับรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากแสงอาทิตย์ ผิวหนังจะมีการสร้างเมลานินมากขึ้น โดยสร้างจากกรดอะมิโนชนิด  “ไทโรซีน ปฏิกิริยาเร่งด้วยเอนไซม์ ไทโรซิเนส (tyrosinase)” ดังนั้นด้วยการใช้วิธีแอนติเซนส์ทำให้สามาถยับยั้งการทำงานของไทโรซิเนส และลดการสังเคราะห์เมลานินให้น้อยลงได้ ผิวจึงคล้ำได้ยากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นเครื่องสำอางเพื่อความงามระดับสุดยอด
  • 16:18
Telomere
เข้าใกล้กลไกความชรา
(ชะลอความชราเป็นไปได้หรือ)

ผลจากอภิมหาโครงการทางเทคโนโลยีชีวภาพ โครงการพันธุกรรมมนุษย์ ทำให้ทราบว่ามียีนที่เกี่ยวข้องกับความชราอยู่มากมาย ส่วนกลไกความชราก็ค่อยๆ เป็นที่เข้าใจกระจ่างชัดขึ้นมาทีละน้อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงคิดกันว่า แม้เราจะหลีกหนีความชราไปได้ไม่พ้น แต่ก็น่าจะสามารถชะลอความชราให้ช้าลงได้

คำอธิบายถึงกลไกความชรามีมากมาย ข้อหนึ่งกล่าวถึง เทเลเมียร์ (telomere)” ที่เป็นส่วนปลายสุดของสายดีเอ็นเอซึ่งเมื่อเซลล์มีการแบ่งตัวครั้งใด ปลายเทเลเมียร์นี้ก็จะหดสั้นลงเรื่อยๆ จนในที่สุดเซลล์ก็หมดความสามารถในการแบ่งตัว อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ การทำลายของเหล่าออกซิเจนในรูปทำลายล้าง (reactive oxygen) ทั้งหลายที่ใช้อธิบายกลไกของความชราได้
  • 11:52
ในราวปลายทศวรรษที่ 1980 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการพันธุกรรมมนุษย์ (Human Genome Project – โครงการขนาดใหญ่ โดยความร่วมมือของหลายประเทศ เพื่อหาลำดับเบสของสายดีเอ็นเอทั้งหมดของมนุษย์ – ผู้แปล) ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 นักวิจัยในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จึงได้เริ่มโครงการนี้และได้ประกาศความสำเร็จไปเมื่อปี ค.ศ. 2003 ทำให้ทราบว่าดีเอ็นเอของมนุษย์นั้นมียีน (gene) อยู่ทั้งสิ้นราว 32,000 ยีน ปัจจุบันงานวิจัยกำลังมุ่งไปที่หน้าที่ของยีนเหล่านั้นว่าเป็นแม่พิมพ์ของโปรตีนชนิดใด และทำหน้าที่อะไร สาเหตุเพราะโปรตีนเป็นโมเลกุลหลักในการสร้างชีวิต งานวิจัยนี้จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ เมื่อยีนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของยีนถูกค้นพบขึ้นใหม่ ก็จะถูกนำไปจดสิทธิบัตรเพื่อใช้ประโยชน์ทางธุรกิจที่กำลังเริ่มเติบโต เพราะการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งทางการแพทย์โดยใช้ยีนจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว การผลิตยาในอนาคตจะอาศัยความรู้พื้นฐานในเรื่องของยีน ดีเอ็นเอ และจีโนมเป็นหลักแน่นอน

ด้วยความรู้เรื่องดีเอ็นเอของมนุษย์ ทำให้เราสามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า โรคที่เกิดขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับยีนและ ดีเอ็นเอหรือไม่ อย่างไร ดังนั้น จึงมีการพัฒนา ชิปดีเอ็นเอ (DNA chip)” ขึ้น เพื่อใช้ตรวจสอบการแสดงออกของยีน ซึ่งจะแพร่หลายในอนาคตอันใกล้นี้ การตรวจวินิจฉัยโรคอาจจะเปลี่ยนจากการใช้เลือดมาเป็นการใช้ดีเอ็นเอแทนก็เป็นไป

สเต็มเซลล์ 
ยิ่งไปกว่านั้น ทุกวันนี้วิศวกรรมเนื้อเยื่อเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Regenerated tissue engineering) กำลังก้าวหน้าไปอย่างมาหยุดยั้ง การาผลิต เซลล์ต้นกำเนิดจากเอ็มบริโอ (embryonic stem cell หรือ ES)” หรือที่มักเรียกทับศัพท์ว่าสเต็มเซลล์ ของมนุษย์ ประสบผลสำเร็จแล้วที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เทคโนโลยีด้านนี้ได้พัฒนาไปสู่การประกอบธุรกิจแล้ว สเต็มเซลล์สามารถมีพัฒนาการเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ได้ จึงคาดกันว่าในอนาคตจะสามารถผลิตอวัยวะขึ้นมาใหม่ได้จากสเต็มเซลล์ดังกล่าว

กล่าวกันว่าอาการเจ็บป่วยของมนุษย์ถึงกว่า 6,000 ชนิด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของยีน บางโรคก็สามารถรักษาได้แล้ว โรคที่บำบัดรักษาได้ด้วยการใช้ ยีนบำบัด เป็นครั้งแรก คือ โรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดเอนไซม์ อะดีโนซีน ดีอะมิเนส  ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับยีนบำบัดมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเป็นปกติ และนอกจากนี้ยีนบำบัดยังจะนำมาใช้กับโรคที่รักษาได้ยาก เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น

ยีนบำบัด

  • 22:25
ความเสี่ยงที่จะโดน Hacked email

The survey consisted of responses from more than 500 professionals and yielded some interesting and disturbing results:

    63% of employees use remote storage devices to transfer confidential work files
    45% of employees use consumer sites like DropBox and Box.net
    30% of employees use cloud storage services
    >60% of employees use personal email to transfer work info
    Nearly 75% think IT approves of this behavior

Almost one-third of the employees who use their personal email to transfer work information, know that their email accounts have been hacked.
  • 21:54
ราคา ExOne's เครื่อง printers 3มิติ

    The S-Max $1.4 million
    The S/M $800,000 
    The MFlex $400,000
    The MLab $100,000 (Used for academia and prototyping)

 เครื่องพิมพ์ 3 มิติ M-flex

Prototype -3D
Prototype -3D
  • 21:34

HP Slate 7 operate ด้วย Android 4.1 มีขนาด 7 นิ้ว มีกรอบสแตนเลสหน้าสีดำและสีเทาหรือสีแดง กับสัมผัสนุ่มๆที่ด้านหลัง คุณลักษณะสำคัญของแท็บเล็ต HP Slate 7  จะมีสล๊อต micro SDHC



HP Slate7 พลัส, เอชพี Slate7 Extreme, HP  Slate8 Pro และ HP Slate10 HD และทั้งสี่รุ่น operate ด้วย Android 4.2.2

Spec ของ Slate 7 Plus 

    Android - Jelly Bean 4.2.2
    Kernel - 3.1.10-g26301e2
    CPU - NVIDIA Tegra 3
    Screen - 7-inch diagonal WVA HD multitouch-enabled screen (1280 x 800)
    Memory - 1 GB DDR3 SDRAM
    Storage - 8 GB eMMC



  • 21:51
The company's forthcoming small-form-factor PC resembles the Asus Chromebox, including its connectivity options (four USB 3.0 ports, DisplayPort and HDMI outputs).

But it offers four color choices, including a stylish turquoise option, and it will also come with an Intel Haswell Core i7 processor, which Asus will only offer for its Chromebox in markets outside of the U.S. 



HP claims that with the new, beefy CPU, its Chromebox will be ready to tackle some of those video meetings Google was promising earlier today.

That processor will also mean the HP Chromebox will cost more its Asus competitor, which will start at just $179 (though probably with a less-powerful Celeron CPU). 
  • 21:43
Windows 8 touch-friendly Firefox beta ready for testing

ผู้ผลิต Firefox Mozilla เปิดตัว Firefox browser touch-friendly รุ่นเบต้าสำหรับ Windows 8 ทัชสกรีนขณะนี้พร้อมสำหรับการทดสอบ

Firefox for Windows 8 touchscreen
คุณสมบัติ Firfox browser Windows 8

  • A web page or a piece of content can be shared to social networks.
  • Supports 'pinch to zoom' and swipe.
  • The option to view an app full-screen.
  • Snapped to a narrow region of the screen.
  • To have it 'fill' the screen area not already occupied by an app in 'snapped' state.
  • 21:34
คราวนี้จะกล่าวถึง ไบโอนิกส์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของการประยุกต์ใช้กิจกรรมและหน้าที่เด่นๆ ของสิ่งมีชีวิต อย่างเช่น การนำไปประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป้าหมายที่เป็นสุดยอดของความปรารถนาของมวลมนุษย์คือ คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้เทียบเท่ากับสมองคน นอกจากนี้ ยังต้องการตัวจับสัญญาณหรือเซ็นเซอร์ (sensor) ที่ใช้แทนอวัยวะรับสัมผัสได้ เซ็นเซอร์แบบนี้เราเรียกว่า ตัวจับสัญญาณชีวภาพ หรือ ไบโอเซนเซอร์ (biosensor)” ตัวอย่างเช่น เซ็นเซอร์กลูโคส สำหรับตรวจปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือดเพื่อการวินิจฉัยโรคเบาหวาน  “เซ็นเซอร์จุลินทรีย์ ใช้ตรวจชนิดของสารประกอบ เซ็นเซอร์แอนติบอดี สำหรับตรวจว่ามีแอนติเจนอยู่หรือไม่ และ ชิปดีเอ็นเอสำหรับตรวจดีเอ็นเอ เป็นต้น ตัวอย่างเหล่านี้ล้วนเป็นไบโอเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นมา และยังมีการมุ่งพัฒนาไบโอเซ็นเซอร์ในลักษณะเป็น ชิป (chip)”  เพื่อใช้สำหรับการตรวจโปรตีนและดีเอ็นเอเป้าหมายอีกด้วย


ไบโอเซนเซอร์ ไบโอนิกส์ 
แม้ว่างานวิจัยในเรื่องของคอมพิวเตอร์ชีวภาพ (bio-computer) และคอมพิวเตอร์สมองกล ดูเหมือนว่าจะไม่ก้าวหน้ามากนักก็ตาม แต่กลับพบว่า มีการใช้ดีเอ็นเอสำหรับคำนวณทางคณิตศาสตร์ เรียกว่า คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ (DNA computer)” ซึ่งดีเอ็นเอนั้นเป็นสารเคมี เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีแล้วทำให้คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอทำงานได้เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป แสดงให้เห็นว่า งานวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ชีวภาพกำลังรุดหน้าไปเช่นกัน

ส่วนงานวิจัยด้านหุ่นยนต์ ก็มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างหุ่นยนต์ให้ได้ใกล้เคียงกับสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างที่มักกล่าวถึงบ่อยครั้งก็คือ ฮิวแมนนอยด์ (humanoid)

งานด้านบำบัดรักษาทางการแพทย์ งานด้านสวัสดิการผู้ป่วย ต่างก็มุ่งจะใช้หุ่นยนต์เข้าช่วย โดยเฉพาะการใช้หุ่นยนต์ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ รวมทั้งการพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัด เพื่อให้มีความแม่นยำและลดความผิดพลาดลงให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด หุ่นยนต์ที่มีรูปร่างคล้ายสุนัข ไอโบ (AIBO)” ของบริษัทโซนี่ ก็ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วไป ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า หุ่นยนต์กำลังได้รับการพัฒนาให้เข้าใกล้สิ่งมีชีวิต ในอนาคต หุ่นยนต์ที่สามารถสื่อสารให้เข้าใจกับเราได้นั้น คงจะไม่ได้เป็นเพียงความฝันอีกต่อไป



A call-to-action text Contact us