:::: MENU ::::
  • 14:48
เทคโนโลยีชีวภาพคืออะไรกัน

          ภายหลังย่างเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 กลไกการทำงานของชีวิตก็เริ่มเป็นที่เข้าใจกันมากขึ้น ชีวโมเลกุลชนิดหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สังเคราะห์ข้นในสิ่งมีชีวิตคือ โปรตีน (Protein) แม่พิมพ์ของโปรตีนก็คือ สารประกอบทางเคมีที่เรียกกันว่า “ดีเอ็นเอ (DNA)” ซึ่งย่อมาจาก “กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid)” โครงสร้างของดีเอ็นเอมีองค์ประกอบหน่วยย่อย เรียกว่า “เบส (base)” ซึ่งบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมเอาไว้ การเรียงตัวของ เบส เหล่านี้ เป็นสิ่งที่กำหนดการเรียงตัวของกรดอะมิโน (amino acid) ที่จะเข้ามาต่อกันเป็นสายยาวแล้วกลายเป็นโปรตีนและโปรตีนนี่เองที่แสดงบทบาทสำคัญของชีวิต
      
ลักษณะ ดี เอ็น เอ
          ในอีกด้านหนึ่ง งานวิจัยเพื่อประยุกต์ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับชีวิตมาใช้กับงานด้านวิศวกรรมกำลังเป็นที่จับตามอง ภายหลังความสำเร็จในการตัดต่อดีเอ็นเอ ในทศวรรษที่ 1970 เทคโนโลยีด้านการนำยีนเข้าเซลล์ เทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ จนถึงการโคลนนิ่ง และการสร้างสิ่งมีชีวิตชนิดไคเมร่า รวมทั้งการวิจัยเรื่องของเซลล์และเอ็มบริโอ เทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ผลของการประยุกต์ใช้เทคโนดลยีต่างๆ ดังที่กล่าวมานั้น ทำให้คาดคะเนว่า การรักษาแบบ  “เมดทูออร์เดอร์” หรือการบำบัดรักษาให้มีความเหมาะสมเฉพาะกับผู้ป่วยแต่ละคน เหมือนสั่งตัดเสื้อผ้าให้เหมาะกับผู้สวมใส่แต่ละคน  จะเป็นจริงขึ้นมาได้

          นอกจากนี้ งานด้านการนำอวัยวะมาใช้ใหม่ในงานด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue engineering) งานด้านยีนบำบัด (การรักษาด้วยยีน) การค้นพบตัวยาใหม่ๆ ด้วยการใช้ข้อมูลจาก “จีโนม (genome-ดีเอ็นเอทั้งหมดในโครโมโซม 1 ชุด มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างชีวิต)” งานเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง

          กลไกของความชราก็เริ่มเป็นที่เข้าใจกันมากขึ้น สาเหตุของความชรานั้นมีหลากหลาย รวมทั้ง “ออกซิเจนในรูปทำลายล้าง (Reactive oxygen)” ก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเด่นชัด ในอนาคตเราอาจจะสามารถชะลอความชราให้ช้าลงและอาจมีชีวิตยืนยาวออกไปได้อีก นอกจากนี้ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร การรักษาและการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่กำลังก้าวหน้าไป และการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อแก้ปัญหาด้านพลังงานก็ยังเป็นความหวังอันสดใสอีกด้วย

          ความชัดเจนในการค้นพบปรากฏการณ์ทางชีวิตเหล่านี้ ทำให้เกิดเทคโนโลยีเพื่อประยุกต์มาใช้งานอย่างกว้าง ขวางและรวดเร็ว สาขาที่นำมาประยุกต์ใช้กันมาก คือ การประยุกต์นำงานอิเลคโทรนิกส์ (electronics) และงานด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์ (robotics) มาใช้ร่วมกับงานวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (bioscience) เกิดเป็นสาขาวิชาใหม่ที่เรียกว่า ไบโอนิกส์ (bionics) ซึ่งกำลังได้รับความสนและเป็นเทคโนโลยีใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 โดยแท้
A call-to-action text Contact us