หุ่นยนต์ทำให้รูปแบบการผ่าตัดเปลี่ยนไปหรือ
(เทคโนโลยีช่วยลดภาระของแพทย์และผู้ป่วย)
เมื่อราว 10
ปีก่อนหน้านี้
ยังมีการผ่าตัดโรคนิ่วในถุงน้ำดีโดยต้องเปิดช่องหน้าท้องให้มีความยาวราว 20
เซนติเมตร แต่ตั้งแต่ครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1980
ได้มีการพัฒนาการผ่าตัดโดยใช้เอนโดสโคป (endoscope) การผ่าตัดแบบนี้จะเปิดหน้าท้องยาวเพียง
5 มิลลิเมตรถึง 1 เซนติเมตร ประมาณ 3 -4 แห่ง
แล้วก็สอดกล้องเอนโดสโคปซึ่งเป็นกล้องขนาดเล็กเข้าไปเพื่อดูสภาพภายในช่องท้อง
แล้วก็นำเอาเครื่องมือต่างๆ เช่น กรรไกรผ่าตัดขนาดเล็กและยาว มีดผ่าตัดไฟฟ้า
แคลมป์ ฟอร์เซป เป็นต้น เข้าไปในช่องท้อง
ทำการผ่าตัดและห้ามเลือดเหมือนกับวิธีการแบบเปิดหน้าท้องทั่วไป
การผ่าตัดโดยใช้เอนโดสโคปนี้ทำให้เกิดบาดแผลบนร่างกายเพียงเล็กน้อย
และทำให้ร่างกายไม่เจ็บปวดและบอบช้ำ ช่วงหลัง 10
ปีมานี้วิธีการนี้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว วิธีผ่าตัดแบบเก่า
ผู้ป่วยจะต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลังผ่าตัดอย่างน้อยถึง 1 สัปดาห์ แต่ถ้าใช้เอนโดสโคป
ผู้ป่วยบางรายก็สามารถกลับบ้านได้เลยในวันรุ่งขึ้น
ในประเทศญี่ปุ่น
ศาสตราจารย์อิเดซึกิ ยาซึโอะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวและศาสตราจารย์ยามากาวา
ทัตสึโร แห่งมหาวิทยาลัยเทเคียว
ทั้งสองเป็นผู้เริ่มนำเอาวิธีผ่าตัดโดยใช้เอนโดสโคปมาใช้เป็นกลุ่มแรกๆ และวิธีนี้ก็แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม
สำหรับศัลยกรรมที่ใช้วิธีการดั้งเดิมในการผ่าตัดนั้นต้องใช้มือสอดเข้าไปซึ่งจะสามารถใช้ความรู้สึกสัมผัสร่วมด้วยได้ในขณะผ่าตัด
แต่ถ้าใช้เอนโดสโคปซึ่งเป็นการผ่าตัดโดยไม่ได้สัมผัสผู้ป่วย ทำให้ไม่ได้ใช้สัมผัสทั้งห้าและแพทย์เองจะรู้สึกว่าการผ่าตัดอาจไม่ได้ผล
เพราะต้องดูจากภาพ (monitor) ซึ่งเป็นภาพ 2 มิติ
ดังนั้นจึงมีการเรียกร้องเทคโนโลยีที่สูงขึ้นในการผ่าตัด
ทั่วโลกต่างก็พยายามที่จะทำการวิจัยในด้านวิศวกรรม
เพื่อช่วยให้การผ่าตัดนั้นง่ายขึ้นทั้งต่อศัลยแพทย์และผู้ป่วย
ความพยายามหนึ่งคือการพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัด
ในยุโรปและสหรัฐอเมริกานั้นมีบริษัทหลายแห่งที่ได้พัฒนาหุ่นยนต์
หรือมานิพูเลเตอร์ (manipulator) ขึ้นเพื่อใช้ในการผ่าตัด
เทคนิคในการผ่าตัดแบบนี้ ทั้งหมดใช้การควบคุมโดยมิได้สัมผัสตัวผู้ป่วยโดยตรง
ในญี่ปุ่นเองก็มีมหาวิทยาลัยและบริษัทชั้นนำต่างๆ
หลายแห่งที่มีความก้าวหน้ามากในการพัฒนางานวิจัยมานิพูเลเตอร์สำหรับงานผ่าตัดด้วยเอนโด-สโคปนี้
และเรียกมานิพูเลเตอร์นี้รวมว่าคือ หุ่นยนต์ผ่าตัด
หุ่นยนต์ผ่าตัดนี้ไม่ได้เหมือนหุ่นยนต์ที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมหรือในโรงงาน ซึ่งในโรงงานนั้นการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์นั้นจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติ
แต่สำหรับหุ่นยนต์ผ่าตัดจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของศัลยแพทย์อย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน
เพราะฉะนั้น การทำงานของหุ่นยนต์ทั้งสองแบบจึงมีความแตกต่างกัน
ไม่สามารถนำคำอธิบายหุ่นยนต์ทั่วไปมาใช้อธิบายหุ่นยนต์ผ่าตัดได้
ทุกวันนี้
การผ่าตัดตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนเสร็จสิ้นโดยใช้หุ่นยนต์ทั้งหมดไม่ได้เป็นเพียงความฝันอีกต่อไป
หุ่นยนต์ผ่าตัดที่พัฒนาขึ้นได้ให้ข้อมูลมากกว่าความรู้สึกของศัลยแพทย์
การผ่าตัดมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้นกว่าการใช้มือของศัลยแพทย์ และยังมีความปลอดภัยและประสบความสำเร็จสูงกว่า
นั่นคือจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของการใช้งานหุ่นยนต์ผ่าตัด
ประเด็นสำคัญ
·
การเปลี่ยนจากการผ่าตัดโดยเปิดหน้าท้อง มาเป็นการใช้เอนโดสโคป
ช่วยลดความบอบช้ำของผู้ป่วย
·
การพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดกำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
|