:::: MENU ::::
  • 23:12
โฉมหน้าใหม่ของเรือไททานิค 2...เรือที่ไม่มีวันจม Titanic Unsinkable

...ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 (พ.ศ. 2455) หรือเมื่อ 102 ปีก่อน เรือโดยสาร"อาร์เอ็มเอส ไททานิค" ขนาด 46,428 ตัน ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พร้อมกับมีคำโฆษณาว่าเป็นเรือที่ไม่มีวันจม ได้นำพาลูกเรือและผู้โดยสาร 2,224 คน ออกเดินทางจากเมืองเซาท์แธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ มุ่งหน้าไปยังนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

โศกนาฏกรรมเรือไททานิคครั้งนี้ กลืนชีวิตผู้คนไปมากถึง 1,514 คน ขณะที่มีผู้รอดชีวิตจากการอพยพหนีได้ทันเพียง 710 คน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้มีการตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของเรือโดยสาร เพราะเรือไททานิคนี้ แม้จะถูกระบุว่าสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2,435 คน แต่กลับมีห่วงชูชีพเพียง 49 ห่วง และมีเรือชูชีพที่รองรับคนได้เพียง 1,178 คนเท่านั้น ขณะที่ลูกเรือก็ไม่ได้บรรทุกคนลงในเรือชูชีพได้เต็มลำ แต่กลับปล่อยเรือออกมาก่อน

Titanic II
Titanic II
Launch of the Titanic II

More than 100 years after the ill-fated voyage of RMS Titanic, an exact replica is built and launched by the Australian billionaire Clive Palmer. The boat sails from China – where it is constructed – to Southampton in England ahead of her maiden passenger journey to New York. Guests include leading U.S. business figures, who are treated to a dinner from the same menu as Titanic passengers on the day it sank. 
  • 21:23

การผลิตเอทานอลจากขยะเมือง

(เทคโนโลยีไบโอคอนเวอร์ชันที่เฝ้ารอคอย)
ปริมาณของเสียและขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์นั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในการจัดการกับของเสียเหล่านี้ หากเป็นของเสียประเภทสารประกอบอินทรีย์ก็จะเป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตทรัพยากรอื่นได้

ภายหลังจากวิกฤติการณ์น้ำมันหรือออยช็อก ทำให้ของเสียเหล่านี้ได้รับความสนใจและอาจกลายเป็นแหล่งพลังงานทดแทนน้ำมันดิบได้อีกแหล่งหนึ่ง

ขยะเมือง

การเปลี่ยนให้ของเสียและขยะเหล่านี้กลายเป็นพลังงานนั้นต้องการเทคโนโลยีทางด้านไบโอคอนเวอร์ชัน (bioconversion) ที่มีประสิทธิภาพ

ไบโอคอนเวอร์ชันเป็นเทคโนโลยีการใช้คุณสมบัติที่มีอยู่แล้วในสิ่งมีชีวิตจึงมีข้อดี คือ 

  1. สามารถประหยัดพลังงานจากการใช้ความร้อนและความดันสูงได้ เพราะสามารถกระทำได้ที่อุณหภูมิและความดันปกติ 
  2. เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีที่ใช้วิธีทางกายภาพและทางเคมี วิธีทางชีวภาพนี้ไม่ก่อให้เกิดผลเสียอื่น เป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่กลับพบว่า กระบวนการทางชีวภาพมีข้อเสีย คือ ต้องใช้ระยะเวลายาวนานมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเทคโนโลยีนี้ให้ได้ผลรวดเร็วขึ้น

การวิจัยที่ใช้ของเสียประเภทสารประกอบอินทรีย์ (ได้แก่ ขยะจากเมือง เป็นต้น) มาใช้เป็นสารตั้งต้น เป็นการนำของเสียมาใช้ใหม่และมีราคาถูก ของเสียเหล่านี้จะนำมาหมักเพื่อให้ได้เอทานอล จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลตั้งแต่การจัดการกับสารตั้งต้นที่เป็นขยะไปจนถึงการจัดการน้ำทิ้งจากการผลิต ซึ่งก็กำลังก้าวหน้าไปทุกขั้นตอน

ในขั้นแรก

  • ทำการเปลี่ยนขยะประเภทสารอินทรีย์ต่างๆ ให้กลายเป็นน้ำตาลที่สามารถเข้าสู่กระบวนการหมักได้ โดยนำเอาสารตั้งต้นมาแยกเอาไฮโดรคาร์บอนเพื่อให้หมักกับจุลินทรีย์ได้ง่าย การผลิตเอทานอลนั้นใช้ของเหลือทิ้งจึงไม่ต้องนำวัตถุดิบมาจากผลิตผลที่ใช้เป็นอาหาร (เช่น อ้อยหรือมันสำปะหลัง – ผู้แปล) การนำของเสียอินทรีย์ที่มีราคาถูก (เช่น ขยะจากเมือง เป็นต้น) มาผลิตพลังงานทำให้ได้พลังงานและยังเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเสมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว 
  • ในกระบวนการเปลี่ยนของเหลือทิ้งประเภทสารอินทรีย์ให้เป็นน้ำตาลนั้น นอกจากใช้วิธีทางกายภาพและเคมีแล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ การใช้เอนไซม์ แต่ต้องทำการวิจัยเพื่อพัฒนาให้เร่งการสลายและใช้เวลาสั้นลง ไม่ว่าจะเป็นขนมปังที่ทิ้งแล้ว ฟางข้าว สาหร่ายเซลล์เดียว วัตถุดิบเหล่านี้ล้วนถูกเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเติมเอนไซม์อะไมเลส (amylase) และ โปรติเอส (protease)

ในขั้นที่สอง

  • การเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นเอทานอล การใช้จุลินทรีย์เปลี่ยนโอลิโกแซ็กคาไรด์หรือน้ำตาลสายยาว  (Oligosaccharide) ให้เป็นมอโนแซ็กคาไรด์หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) จากนั้นเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นเอทานอล การที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอทานอล การใช้วิธีนี้นั้น นอกจากจะต้องค้นหาจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและโดดเด่นแล้ว ยังต้องอาศัยเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรมเข้าช่วยด้วย
----------------------AweeklyBlog-----------------------
คำสำคัญ: เทคโนโลยี / ขยะ / เอนไซม์อะไมเลส (amylase) / โปรติเอส (protease) / เอทานอล / น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว / ไบโอคอนเวอร์ชัน
A call-to-action text Contact us