ในราวปลายทศวรรษที่
1980 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการพันธุกรรมมนุษย์ (Human
Genome Project – โครงการขนาดใหญ่ โดยความร่วมมือของหลายประเทศ เพื่อหาลำดับเบสของสายดีเอ็นเอทั้งหมดของมนุษย์
– ผู้แปล) ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 นักวิจัยในสหรัฐอเมริกา
สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จึงได้เริ่มโครงการนี้และได้ประกาศความสำเร็จไปเมื่อปี ค.ศ.
2003 ทำให้ทราบว่าดีเอ็นเอของมนุษย์นั้นมียีน (gene)
อยู่ทั้งสิ้นราว 32,000 ยีน
ปัจจุบันงานวิจัยกำลังมุ่งไปที่หน้าที่ของยีนเหล่านั้นว่าเป็นแม่พิมพ์ของโปรตีนชนิดใด
และทำหน้าที่อะไร สาเหตุเพราะโปรตีนเป็นโมเลกุลหลักในการสร้างชีวิต
งานวิจัยนี้จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้
เมื่อยีนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของยีนถูกค้นพบขึ้นใหม่
ก็จะถูกนำไปจดสิทธิบัตรเพื่อใช้ประโยชน์ทางธุรกิจที่กำลังเริ่มเติบโต
เพราะการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ
รวมทั้งทางการแพทย์โดยใช้ยีนจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว
การผลิตยาในอนาคตจะอาศัยความรู้พื้นฐานในเรื่องของยีน ดีเอ็นเอ
และจีโนมเป็นหลักแน่นอน
ด้วยความรู้เรื่องดีเอ็นเอของมนุษย์
ทำให้เราสามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า โรคที่เกิดขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับยีนและ
ดีเอ็นเอหรือไม่ อย่างไร ดังนั้น จึงมีการพัฒนา “ชิปดีเอ็นเอ
(DNA chip)” ขึ้น เพื่อใช้ตรวจสอบการแสดงออกของยีน
ซึ่งจะแพร่หลายในอนาคตอันใกล้นี้
การตรวจวินิจฉัยโรคอาจจะเปลี่ยนจากการใช้เลือดมาเป็นการใช้ดีเอ็นเอแทนก็เป็นไป
“สเต็มเซลล์” |
ยิ่งไปกว่านั้น
ทุกวันนี้วิศวกรรมเนื้อเยื่อเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Regenerated tissue
engineering) กำลังก้าวหน้าไปอย่างมาหยุดยั้ง การาผลิต “เซลล์ต้นกำเนิดจากเอ็มบริโอ (embryonic stem cell
หรือ ES)” หรือที่มักเรียกทับศัพท์ว่า “สเต็มเซลล์” ของมนุษย์ ประสบผลสำเร็จแล้วที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา
เทคโนโลยีด้านนี้ได้พัฒนาไปสู่การประกอบธุรกิจแล้ว สเต็มเซลล์สามารถมีพัฒนาการเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ
ได้ จึงคาดกันว่าในอนาคตจะสามารถผลิตอวัยวะขึ้นมาใหม่ได้จากสเต็มเซลล์ดังกล่าว
กล่าวกันว่าอาการเจ็บป่วยของมนุษย์ถึงกว่า
6,000 ชนิด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของยีน บางโรคก็สามารถรักษาได้แล้ว
โรคที่บำบัดรักษาได้ด้วยการใช้ “ยีนบำบัด” เป็นครั้งแรก คือ โรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดเอนไซม์ “อะดีโนซีน ดีอะมิเนส” ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับยีนบำบัดมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเป็นปกติ
และนอกจากนี้ยีนบำบัดยังจะนำมาใช้กับโรคที่รักษาได้ยาก เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น
ยีนบำบัด |