:::: MENU ::::
  • 21:34
คราวนี้จะกล่าวถึง ไบโอนิกส์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของการประยุกต์ใช้กิจกรรมและหน้าที่เด่นๆ ของสิ่งมีชีวิต อย่างเช่น การนำไปประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป้าหมายที่เป็นสุดยอดของความปรารถนาของมวลมนุษย์คือ คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้เทียบเท่ากับสมองคน นอกจากนี้ ยังต้องการตัวจับสัญญาณหรือเซ็นเซอร์ (sensor) ที่ใช้แทนอวัยวะรับสัมผัสได้ เซ็นเซอร์แบบนี้เราเรียกว่า ตัวจับสัญญาณชีวภาพ หรือ ไบโอเซนเซอร์ (biosensor)” ตัวอย่างเช่น เซ็นเซอร์กลูโคส สำหรับตรวจปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือดเพื่อการวินิจฉัยโรคเบาหวาน  “เซ็นเซอร์จุลินทรีย์ ใช้ตรวจชนิดของสารประกอบ เซ็นเซอร์แอนติบอดี สำหรับตรวจว่ามีแอนติเจนอยู่หรือไม่ และ ชิปดีเอ็นเอสำหรับตรวจดีเอ็นเอ เป็นต้น ตัวอย่างเหล่านี้ล้วนเป็นไบโอเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นมา และยังมีการมุ่งพัฒนาไบโอเซ็นเซอร์ในลักษณะเป็น ชิป (chip)”  เพื่อใช้สำหรับการตรวจโปรตีนและดีเอ็นเอเป้าหมายอีกด้วย


ไบโอเซนเซอร์ ไบโอนิกส์ 
แม้ว่างานวิจัยในเรื่องของคอมพิวเตอร์ชีวภาพ (bio-computer) และคอมพิวเตอร์สมองกล ดูเหมือนว่าจะไม่ก้าวหน้ามากนักก็ตาม แต่กลับพบว่า มีการใช้ดีเอ็นเอสำหรับคำนวณทางคณิตศาสตร์ เรียกว่า คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ (DNA computer)” ซึ่งดีเอ็นเอนั้นเป็นสารเคมี เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีแล้วทำให้คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอทำงานได้เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป แสดงให้เห็นว่า งานวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ชีวภาพกำลังรุดหน้าไปเช่นกัน

ส่วนงานวิจัยด้านหุ่นยนต์ ก็มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างหุ่นยนต์ให้ได้ใกล้เคียงกับสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างที่มักกล่าวถึงบ่อยครั้งก็คือ ฮิวแมนนอยด์ (humanoid)

งานด้านบำบัดรักษาทางการแพทย์ งานด้านสวัสดิการผู้ป่วย ต่างก็มุ่งจะใช้หุ่นยนต์เข้าช่วย โดยเฉพาะการใช้หุ่นยนต์ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ รวมทั้งการพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัด เพื่อให้มีความแม่นยำและลดความผิดพลาดลงให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด หุ่นยนต์ที่มีรูปร่างคล้ายสุนัข ไอโบ (AIBO)” ของบริษัทโซนี่ ก็ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วไป ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า หุ่นยนต์กำลังได้รับการพัฒนาให้เข้าใกล้สิ่งมีชีวิต ในอนาคต หุ่นยนต์ที่สามารถสื่อสารให้เข้าใจกับเราได้นั้น คงจะไม่ได้เป็นเพียงความฝันอีกต่อไป



A call-to-action text Contact us