:::: MENU ::::
  • 16:18
Telomere
เข้าใกล้กลไกความชรา
(ชะลอความชราเป็นไปได้หรือ)

ผลจากอภิมหาโครงการทางเทคโนโลยีชีวภาพ โครงการพันธุกรรมมนุษย์ ทำให้ทราบว่ามียีนที่เกี่ยวข้องกับความชราอยู่มากมาย ส่วนกลไกความชราก็ค่อยๆ เป็นที่เข้าใจกระจ่างชัดขึ้นมาทีละน้อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงคิดกันว่า แม้เราจะหลีกหนีความชราไปได้ไม่พ้น แต่ก็น่าจะสามารถชะลอความชราให้ช้าลงได้

คำอธิบายถึงกลไกความชรามีมากมาย ข้อหนึ่งกล่าวถึง เทเลเมียร์ (telomere)” ที่เป็นส่วนปลายสุดของสายดีเอ็นเอซึ่งเมื่อเซลล์มีการแบ่งตัวครั้งใด ปลายเทเลเมียร์นี้ก็จะหดสั้นลงเรื่อยๆ จนในที่สุดเซลล์ก็หมดความสามารถในการแบ่งตัว อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ การทำลายของเหล่าออกซิเจนในรูปทำลายล้าง (reactive oxygen) ทั้งหลายที่ใช้อธิบายกลไกของความชราได้

ถึงเวลาแล้วที่เราจะนำเอาข้อมูลทางพันธุกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อสุขภาพของพวกเราเอง ตัวอย่างเช่น การคิดค้นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ช่วยให้ความชราเกิดขึ้นช้าลง การค้นหาเอนไซม์ที่ใช้ทำลายออกซิเจนในรูปทำลายล้างชนิดต่างๆ ที่มีอันตราย หรือไม่ก็ด้วยงานด้านโภชนาการเพื่อค้นหาสารอาหารที่ช่วยชะลอความชรา รวมทั้งพัฒนาวิธีการยับยั้งการสั้นลงของเทเลเมียร์หรือทำให้เทเลเมียร์ยาวออกมาได้ นอกจากนี้ การพัฒนายาใหม่จากความรู้ด้านยีนอาจจะช่วยยับยั้งความชราเอาไว้ได้ไม่มากก็น้อย ด้วยความรู้พื้นฐานด้านข้อมูลพันธุกรรมทำให้เราสามารถหาวิธีการรวมทั้งใช้โภชนบำบัดหรือการออกกำลังกาย เพื่อให้อายุของเรามีแนวโน้มที่จะยืนยาวขึ้นได้

ปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นเนื่องจากสังคมในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น คือ อาการความจำเสื่อมมีมากขึ้น โดยสาเหตุอาจมาจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) หรือจากความเสื่อมยของหลอดเลือดในสมอง ปัจจุบัน มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะพัฒนยามาเพื่อใช้ในการรักษาอาการนี้ ส่วนในอนาคตอาจจะเป็นการใช้สเต็มเซลล์จากเอ็มบริโอมากระตุ้นให้มีพัฒนาการไปเป็นเซลล์ประสาท แล้วนำไปปลูกถ่ายในสมอง ร่วมกับการฟื้นฟูทางร่างกายและความจำ อาจช่วยให้สามารถรักษาอาการจิตเสื่อมและความจำเสื่อมในผู้สูงอายุได้

Alzheimer’s disease


ยิ่งไปกว่านั้น จากความก้าวหน้าของงานวิจัยด้านไบโออิเล็กทรอนิกส์ระบบสมองกล คอมพิวเตอร์ชีวภาพ (bio-computer)” จึงกำลังได้รับการพัฒนา โดยการฝังระบบความจำในสมองและติดตั้งตัวควบคุมไว้ภายนอก อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาความจำเสื่อมนี้ได้
A call-to-action text Contact us